หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต (พธ.บ.)

1. ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1.1 ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย                : พุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศาสนา
ภาษาอังกฤษ            : Bachelor of Arts Program in Religion
1.2 ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม (ไทย)           : พุทธศาสตรบัณฑิต (ศาสนา)
ชื่อย่อ (ไทย)            : พธ.บ.(ศาสนา)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ)       : Bachelor of Arts (Religion)
ชื่อย่อ (อังกฤษ)        : B.A. (Religion)
1.3 สาขาวิชา
ศาสนา

2. คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน
2.1 คณะต้นสังกัด
คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่อยู่ : ๗๙ หมู่ ๑ ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๑๓๑๗๐
2.2 สถานที่เปิดสอน
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ปัตตานี

ที่อยู่
ถนนสามัคคีสาย ข ตำบล รูสะมิแล
อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี 94000

โทรศัพท์
0-7345-0071, 0-7345-0075

อีเมล
mcupattani@hotmail.com

3. ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
3.1 ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรสาขาวิชาศาสนา ภาควิชาศาสนาและปรัชญา คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีความมุ่งมั่น และปณิธาน ที่จะส่งเสริมในการผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้ ความเข้าใจ และความสามารถในทางศาสนา ทั้งด้านวิชาการ และด้านปฏิบัติ มีหลัก และวิธีการที่นิสิตสามารถศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้านอื่นๆ ให้เข้ากับหลักการศึกษาสมัยใหม่อย่างมีคุณภาพ และประสิทธิภาพสู่สังคมโลก

3.2 ความสำคัญของหลักสูตร
คุณค่า และความสำคัญในการศึกษาศาสนา มุ่งเน้นการศึกษาศาสนาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ลึกซึ้งรวมถึงการปฏิบัติการจริงด้วยการประยุกต์ผ่านกิจกรรม และการวิจัยทั้งในชั้นเรียน และนอกชั้นเรียน โดยเน้นเนื้อหาของชีวิตในมิติศาสนา สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนาต่างๆ เพื่อพัฒนา และแก้ไขปัญหาสังคมซึ่งอาจเกิดจากความเข้าใจผิดหรือการรับรู้ข้อมูลผิดๆ เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ จนเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งรุนแรง สาขาวิชาศาสนามีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาสำคัญดังกล่าว จึงจำเป็นต้องเสนอการปรับปรุงหลักสูตรเพื่อเรียนรู้ทุกศาสนาอย่างปราศจากอคติ (Bias)

3.3 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้และเชี่ยวชาญในทางศาสนา สามารถวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์ และวิจัยวิชาการด้านศาสนาต่างๆ ได้อย่างแตกฉานชัดเจน
2. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณธรรมและจริยธรรม เป็นผู้นำสังคมด้านจิตใจ และสติปัญญา
3. เพื่อผลิตบัณฑิตให้สามารถพัฒนาชีวิต และสร้างเสริมสันติภาพแก่สังคมทุกระดับ และนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และพัฒนาประเทศ ตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า